โครงการบรอดแบนด์แห่งชาติของออสเตรเลียเป็นโครงการที่ถูกจับตามองและได้รับความชื่นชมอย่างกว้างขวาง เนื่องจากเป็นการลงทุนด้านบรอดแบนด์ขนาดใหญ่ที่มีมูลค่าถึง 45.6 พันล้านเหรียญออสเตรเลีย ด้วยการติดตั้งสายใยแก้วนำแสงเพื่อเชื่อมบ้านและสำนักงานจำนวน 93% เข้ากับเครือข่ายอินเตอร์เน็ตความเร็วสูง (Fiber to The Premises หรือ FTTP สำหรับประเทศไทยใช้คำว่า Fiber to The Home หรือ FTTH) และแล้วในปี 2013 รัฐบาลของออสเตรียเลียได้ทบทวนโครงการดังกล่าวด้วยการลดเป้าหมายด้าน FTTP จาก 93% เหลือ 22% และแทนที่ด้วย Fiber to Node (FTTN) 71% ข้อแตกต่างสำคัญของ FTTP และ FTTN คือ FTTP จะติดตั้งสายใยแก้วนำแสงไปจนถึงบ้าน แต่ FTTN จะติดตั้งสายใยแก้วนำแสงไปให้ใกล้บ้านที่สุดแต่ยังเข้าไม่ถึงบ้านเรียกว่า Node แล้วติดตั้งสายทองแดงจาก Node ไปถึงบ้านด้วยเทคโนโลยี VDSL, VDSL Vectoring หรือ
G.fast
บรอดแบนด์เทคโนโลยีที่กับการเปลี่ยนแปลง
- Fiber To The Premises (FTTP) ใช้ 93% ตามแผนเดิม ลดเหลือ 22% ในแผนใหม่
- Fiber To The Node (FTTN) ไม่เคยคิดจะใช้ในแผนเดิม เพิ่มเป็น 71% ในแผนใหม่
- Fixed Wireless Broadband ใช้ 4% ไม่เปลี่ยนแปลง
- ดาวเทียม ใช้ 3% ไม่เปลี่ยนแปลง
การเปลี่ยนแปลงดังกล่าวทำให้สามารถลดงบประมาณเหลือ 29.5 พันล้านเหรียญออสเตรเลีย หรือสามารถประหยัดเงินได้มากกว่า 30% แต่ก็ต้องแลกกับ การลดความเร็วสูงสุดจาก 1 Gbps เหลือ 50 Mbps
 |
เปรียบเทียบโครงการก่อนและหลังการทบทวน Sources: NBN Co; Coalition’s NBN policy statements; “Energy Consumption in Access Networks,” J. Baliga, R.S. Tucker, et al., Optical Fiber Communication/National Fiber Optic Engineers Conference, 2008; IEEE |
โครงการบรอดแบนด์แห่งชาติของออสเตรเลีย
เมื่อปี ค.ศ. 2009 รัฐบาลออสเตรเลียได้รับการชื่นชมจากคนทั่วโลกจากนโยบายบรอดแบนด์แห่งชาติ (Nation Broardband Network) ซึ่งตั้งเป้าหมายจะติดตั้งโครงข่ายใยแก้วนำแสงไปยังที่พักอาศัยและสถานประกอบการครอบคุม 93% ของประเทศ ที่เหลือใช้ Fixed Wireless Broadband และดาวเทียม ซึ่งโครงข่ายดังกล่าวสามารถให้บริการอินเตอร์เน็ตที่มีความเร็วสูงสุดถึง 1 Gbps โดยเลือกใช้เทคโนโลยี Gigabit Passive Optical Network (GPON)
โครงการเริ่มต้นด้วยการตั้งบริษัทกลางชื่อ
NBN Co และเริ่มดำเนินการติดตั้งโครงข่ายในปี 2010 โดยมอบหมายให้ NBN Co เป็นผู้ดำเนินการติดตั้งโครงข่ายใยแก้วนำแสงไปยังบ้านผู้ใช้งานแล้วขายส่งให้กับผู้บริการอินเตอร์เน็ต ผู้ใช้เช่าก็สามารถเช่าต่อจากผู้ให้บริการอินเตอร์เน็ตอีกที แนวคิดนี้ทำให้ประเทศไม่ต้องลงทุนซ้ำซ้อนเพื่อติดตั้งสายใยแก้วนำแสงระหว่างผู้ให้บริการแต่ละราย กรณีนี้ประเทศไทยเป็นตัวอย่างที่ดี ลองมองเสาไฟฟ้าในแหล่งชุมชนดูสิ
3 ปีของการดำเนินการ NBN Co เปิดให้บริการแล้ว 126,251 ราย ทั้งนี้เป็นการให้บริการผ่านสายใยแก้วนำแสงจำนวน 76,623 หรือประมาณ 60.7% คำถามจึงตามมามากมาย เกิดอะไรขึ้น? ปัญหาส่วนใหญ่มุ่งไปที่ภูมิประเทศของออสเตรเลียที่มีพื้นที่ขนาดใหญ่แต่มีความหนาแน่นของประชากรต่ำทำให้การติดตั้งสายใยแก้วนำแสงไปยังบ้านทุกหลังเป็นเรื่องยากมาก
ในที่สุดรัฐบาลผสมชุดใหม่ต้องกลับมาทบทวนโครงบรอดแบนด์แห่งชาติเสียใหม่ เนื่องจากประเทศออสเตรเลียต้องการเพิ่มความเร็วการให้บริการอินเตอร์เน็ตให้สูงขึ้นจากปัจจุบัน ซึ่งมีความเร็วเฉลี่ยแค่ 4.8 Mbps ซึ่ค่อนข้างต่ำเมื่อเทียบกับประเทศที่พัฒนาแล้ว หรือในภูมิภาคเอเซียแปซิฟิก
 |
Average Connection Speed by Asia Pacific Country/Region; Sources: Akamai Technologies, Inc |
นโยบายใหม่สร้างการโต้แย้งกันอย่างกว้างขวางทั้งผู้ที่เห็นด้วยและเห็นแย้ง ฝ่ายที่เห็นด้วยต้องการลดงบประมาณและระยะเวลาการติดตั้งเพื่อเพิ่มความเร็วอินเตอร์เน็ตของประเทศ ฝ่ายที่เห็นแย้งได้ยืนยันความคุ้มค่าของโครงการเดิม ซึ่งผ่านการศึกษามาอย่างรอบคอบและยืนยันหนักแน่น FTTP คืออนาคตของบรอดแบนด์ และโต้แย้งว่ารัฐบาลใช้โครงการบรอดแบนด์แห่งชาติเป็นเครื่องมือทางการเมือง
อย่างไรก็ตาม ทั้งสองฝ่ายก็เห็นตรงกัน FTTP คืออนาคตของบรอดแบนด์